วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายบทที่ 6

1. เทคโนโลยีสื่อโสตทัศนูปกรณ์เพื่อการสอนมีทั้งหมดกี่ประเภท อะไรบ้าง
            เทคโนโลยีสื่อโสตทัศนูปกรณ์เพื่อการสอน 5 ประเภท ได้แก่
1) เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ประเภทเสียง
2) เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ประเภทฉาย
3) เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ประเภทการแปลงและถ่ายทอดสัญญา
4) เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ประเภทดิจิทัล
5) เทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ประเภทภาพเคลื่อนไหว

2. จงอธิบายหน้าที่และความสำคัญของเครื่องเสียง
            เครื่องเสียงทำหน้าที่ในการขยายพลังเสียงของจุดกำเนิดเสียงไปได้ไกลและถึงเป้าหมายได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งหน้าที่หลักของเครื่องเสียงนั้นทำหน้าที่ขยายคลื่นเสียงเป็นสัญญาณไฟฟ้าให้มีกำลังสูงขึ้น โดยเริ่มจากสัญญาณเข้าแหล่งกำเนิดเสียง ได้แก่ ไมโครโฟน เครื่องรับวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นดีวีดี เป็นต้น หรือผ่านเครื่องผสมสัญญาณเสียง (Mixer) เพื่อแปลงสัญญาณเป็นคลื่นเสียงขยายสู่ลำโพงให้มีพลังเสียงมากยิ่งขึ้น

3. ระบบเครื่องเสียงมีกี่องค์ประกอบ อะไรบ้าง
            ระบบเครื่องเสียงประกอบด้วย 3 ส่วนที่สำคัญ ได้แก่
1) หน่วยรับสัญญาณเข้า (Input Signal) ทำหน้าที่เปลี่ยนจากคลื่นเสียงตามธรรมชาติให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า คลื่นความถี่เสียง หลังจากนั้นจึงส่งต่อไปยังหน่วยขยายสัญญาณให้มีกำลังขยายสูงขึ้น เช่น ไมโครโฟน เครื่องรับวิทยุ เครื่องเล่นเทป เครื่องเล่นดีวีดี เป็นต้น
2) หน่วยขยายสัญญาณ (Amplifier) ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้า คลื่นความถี่เสียงจากหน่วยสัญญาณเข้า แล้วนำไปขยายสัญญาณให้มีพลังสูงขึ้นโดยเสียงยังมีคุณภาพเหมือนกับต้นกำเนิดเสียง เช่น เครื่องขยายเสียงลักษณะต่างๆ
3) หน่วยรับสัญญาณออก (Output Signal) ทำหน้าที่รับสัญญาณไฟฟ้า คลื่นความถี่เสียงซึ่งได้รับการขยายจากหน่วยขยายสัญญาณ หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนให้เป็นคลื่นเสียงตามธรรมชาติผ่านชั้นบรรยากาศมายังโสตรับสัมผัสของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งคุณภาพของเสียงนั้นจะเหมือนกันต้นกำเนิดเสียง แต่หลังจากที่ได้รับการขยายสัญญาณเสียงจะส่งผลให้มีคามดังของเสียงมากขึ้น เช่น ลำโพงลักษณะต่างๆ

4. จงอธิบายประเภทของไมโครโฟน พร้อมหาตัวอย่างภาพประกอบการอธิบาย
1) ไมโครโฟนชนิดไดนามิก (Dynamic Movie Coil Microphone) เป็นไมโครโฟนที่ได้รับความนิยมมาก ใช้หลักการของการเคลื่อนที่ของขดลวดตามเสียงที่มากระทบและเมื่อขดลวดตัดผ่านสนามแม่เหล็กถาวรก็จะเกิดเป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้าตามคลื่นเสียงนั้น ไมโครโฟนชนิดนี้เป็นที่นิยมแพร่หลายครอบคลุมการใช้งานเกือบทุกประเภท เพราะสามารถรับเสียงในย่านกว้างทั้งความถี่ต่ำและความถี่สูงได้ เป็นไมโครโฟนที่มีคุณภาพเสียงดี เหมือนธรรมชาติ มีความทนทานมาก  


2) ไมโครโฟนชนิดคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) เป็นไมโครโฟนที่ออกแบบโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความจุตามเสียงที่มากระทบแผ่นชนวนที่อยู่ระหว่างแผ่นเพลทสองแผ่น โดยส่วนใหญ่ไมโครโฟนประเภทนี้จะต้องมีแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง เช่น อาจมีถ่านไฟฉายอยู่ด้วย สามารถตอบสนองความถี่สูงได้ดีมากและนิยมใช้มากในปัจจุบัน


3) ไมโครโฟนแบบไร้สาย (Wireless Microphone) หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “ไมค์ลอย” มีการเพิ่มวงจรเครื่องส่งให้สามารถส่งสัญญาณออกมาเป็นคลื่นวิทยุขนาดเล็ก สามารถส่งคลื่นได้ในระยะหนึ่งโดยอาศัยการส่งคลื่นตามคลื่นของวิทยุระบบ F.M.


4) ไมโครโฟนชนิดครอบศีรษะ (Headset Microphone) เป็นไมโครโฟนที่ติดกับหูฟังโดยไมโครโฟนอยู่ด้านหลัง เหมาะใช้กับการสื่อสารายบุคคล


5) ไมโครโฟนแบบแยกทิศทางหรือสเตอริโอ (Stereo Microphone) เป็นไมโครโฟนที่มี 2 ตัวรวมกันไว้ในตัวเดียว มีทั้งแบบทิศทางเดียวและสองทิศทาง สามารถรับเสียงสตูดิโอได้ดี


6) ไมโครโฟนแบบปรับความไวในการรับเสียงหรือซูมไมโครโฟน (Zoom Microphone) เป็นไมโครโฟนคู่กับกล้องบันทึกเทปโทรทัศน์ โดยสามารถปรับความไวในการรับเสียงให้สัมพันธ์กับระยะของภาพที่บันทึกได้


7) ไมโครโฟนแบบตั้งโต๊ะ เป็นไมโครโฟนที่ประกอบกับขาตั้งที่ทำมาเพื่อเสียบไมโครโฟนได้ ซึ่งมักใช้ในห้องประชุม โดยในการพูดนั้นต้องมีระยะไม่ห่างจากตัวไมโครโฟนมาก



5. เครื่องเล่นซีดีและดีวีดีจัดอยู่ในประเภทใดของเทคโนโลยีสื่อโสตทัศนูปกรณ์เพื่อการสอน พร้อมอธิบายการบำรุงและดูแลรักษา
เครื่องเล่นซีดีและดีวีดีจัดอยู่ในประเภทหน่วยรับสัญญาณเข้า มีวิธีการบำรุงรักษาดังนี้
- เก็บรักษาแผ่นซีดี ดีวีดี ในกล่องหรือซองเพื่อป้องกันความสกปรกจากฝุ่นละออง รอยนิ้วมือ
- ไม่ปะติดสติกเกอร์บนแผ่นซีดี ดีวีดี
- ควรวางเครื่องเล่นไว้ในที่แห้งและเย็น อากาศถ่ายเท ในขณะใช้งานไม่ควรมีผ้าหรือสิ่งของบนตัวเครื่อง
- วางให้ห่างจากบริเวณที่มีสนามแม่เหล็กรบกวน
- ไม่ควรใช้แอลกอฮอล์หรือน้ำมันหอมระเหยเช็ดทำความสะอาดเครื่อง ให้ใช้ผ้านุ่มแห้งสะอาดเช็ดเบาๆ
- ไม่ควรเปิดฝาครอบเครื่องโดยพลการ
- ถ้าต้องการเขียนข้อความลงบนแผ่นควรใช้ปลายปากกาสักหลาดเขียนได้ ห้ามใช้ปากกาลูกลื่น

6. เทคโนโลยีสื่อโสตทัศนูปกรณ์ประเภทฉายภาพแบ่งได้กี่ระบบ อะไรบ้าง จงอธิบาย
แบ่งได้ 3 ระบบ ได้แก่
1) ระบบฉายตรง (Direct Projection) มีหลักการทำงานโดยสังเขป คือ แสงที่สะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสงรวมกับแสงโดยตรงจากหลอดฉายผ่านเลนส์รวมแสง ผ่านวัสดุที่นำมาฉายและผ่านเลนส์ฉายไปสู่จอ การฉายแบบนี้มีการสูญเสียความเข้มของแสงน้อย จึงสามารถใช้ฉายในห้องที่มีแสงสว่างไม่มากเกินไปนักได้ เช่น เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายภาพยนตร์
2) ระบบฉายอ้อม (Indirect Projection) มีหลักการทำงานโดยสังเขป คือ แสงที่สะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสงรวมกับแสงโดยตรงจากหลอดฉาย ผ่านเลนส์รวมแสง และอาจตกกระทบแผ่นสะท้อนแสงซึ่งมีลักษณะเป็นกระจกเงาราบหรือไม่ก็ได้ แล้วแสงจะผ่านวัสดุที่นำมาฉาย ผ่านเลนส์ฉายไปตกกระทบตัวสะท้อนแสงซึ่งอาจจะเป็นกระจกเงาราบหรือปริซึมก็ได้ หลังจากนั้นจึงจะสะท้อนไปสู่จอ การฉายระบบนี้ต้องฉายใกล้ๆจอ จึงทำให้มีการสูญเสียความเข้มของแสงน้อย ใช้ฉายในห้องที่มีแสงสว่างไม่มากเกินไปได้ เช่น เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ
3) ระบบฉายสะท้อน (Reflected Projection) มีหลักการทำงานโดยสังเขป คือ แสงที่สะท้อนจากแผ่นสะท้อนแสงรวมกับแสงโดยตรงจากหลอดฉาย ตกกระทบวัสดุที่นำมาฉายซึ่งทึบแสง (โดยไม่ต้องมีเลนส์รวมแสง) แล้วสะท้อนเอาภาพของวัสดุที่ฉายไปตกกระทบกระจกเงาราบที่อยู่เหนือวัตถุ สะท้อนผ่านเลนส์ภาพไปสู่จอ ดังนั้น การฉายแบบนี้จึงมีการสูญเสียความเข้มของแสงไปมาก เหมาะสำหรับฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด เช่น เครื่องฉายวัสดุทึบแสง

7. จงอธิบายวิธีการติดตั้งและการใช้งานเครื่องวิชวลไลเซอร์
วิธีการติดตั้งเครื่องวิชวลไลเซอร์
1. นำเครื่องวางบนโต๊ะหรือแท่นวาง
2. กดปุ่มเพื่อปล่อยล็อกหลังจากนั้นจึงยกเสายึดกล้องตั้งขึ้นจนกระทั่งล็อกอยู่ในตำแหน่งที่ยึดได้
3. ยกแขนไฟส่องสว่างทั้งสองข้างขึ้นมาและกางออกไปจนสุด
4. ยกหัวกล้องหลักขึ้นในแนวตั้งโดยให้เลนส์อยู่ในตำแหน่งชี้ลงบนแท่นวางวัตถุ
5. ปรับมุมไฟส่องวัตถุ
6. เสียบปลั๊กไฟ ก่อนต่อเข้ากับจอมอนิเตอร์ ต้องแน่ใจว่าปิดสวิตซ์อุปกรณ์ทั้งหมดแล้ว
7เชื่อมต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยใช้สาย RCA video/audio หรือสาย BNC ต่อจากช่อง video output ทั้งสองช่องของเครื่องคอมพิวเตอร์
8. ในการต่อเข้ากับจอมอนิเตอร์ให้ใช้สาย s-video แทน
9ในการต่อเข้ากับจอ LCD ให้ใช้สาย BNC ช่อง RGB output ของวิชวลไลเซอร์ไปยังช่อง RGB input ของจอ
วิธีการใช้งาน
วัตถุทึบแสง
- ปิดสวิตซ์เครื่องแล้ววางวัตถุลงบนแท่นวาง
- ปรับขนาดโดยใช้ปุ่ม tale/wide
- กดปุ่ม auto focus
วัตถุโปร่งแสง
- วางวัตถุลงแล้วกดปุ่ม base แล้วไฟที่ปุ่มจะกระพริบขึ้น
- กดปุ่ม posi/nega
- กดปิดไฟแท่นฉายโดยกดปุ่ม base แล้วไฟจะดับลง

8. จงอธิบายวิธีการบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์
วิธีการบำรุงรักษาฮาร์ดดิสก์
1) ระมัดระวังอย่าให้ฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือนหรือตกหล่น
2) ควรมีเครื่องสำรองไฟในขณะใช้คอมพิวเตอร์เพื่อป้องกันไฟช็อต ไฟเกิน ไฟกระชาก เพราะอาจส่งผลให้ฮาร์ดดิสก์เสียหาย
3) ตรวจสอบฮาร์ดดิสก์เป็นประจำ สำหรับผู้ใช้วินโดวส์ จะมีโปรแกรมให้ โดยทำตามวิธีดังต่อไปนี้
- คลิก Properties จากนั้นคลิก Tools > Check เพื่อตรวจสอบฮาร์ดดิสก์

- เปิด my computer แล้วคลิกขวาที่ฮาร์ดดิสก์ที่ต้องการ
4) หากในฮาร์ดดิสก์มีปัญหาขัดข้องจะมีข้อความแจ้งเตือนขึ้นมา ซึ่งการตรวจสอบฮาร์ดดิสก์จะช่วยให้ฮาร์ดดิสก์มีอายุการใช้งานยาวขึ้น
5) วิธีการ Defragment เป็นการจัดเรียบเรียงข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ ช่วยให้ฮาร์ดดิสก์มีอายุการใช้งานนานขึ้น การทำงานเร็วขึ้น

9. ประเภทของกล้องดิจิทัลมีอะไรบ้าง จงอธิบายพร้อมตัวอย่างภาพประกอบ
 มี 4 ประเภท ได้แก่


1)  Digital Compact Camera เป็นกล้องที่มีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก ใช้งานง่ายไม่ซับซ้อน สามารถจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่
- กล้องคอมแพ็กดิจิทัลแบบปกติ มีเลนส์ในตัว ไม่สามารถปรับความเร็วของชัตเตอร์ได้ ใช้งานง่าย บันทึกภาพเคลื่อนไหวได้ในระยะเวลาสั้นๆ
- กล้องคอมแพ็กดิจิทัลแบบปรับความยาวโฟกัส หรือซูม สามารถปรับความยาวโฟกัสของเลนส์ที่ติดมากับตัวกล้องได้ มีลักษณะเลนส์แบบ Optical


2) Digital Single Lens Reflex : DSLR มีหลักการทำงานเหมือนกล้องถ่ายภาพสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวแบบใช้ฟิล์ม สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ มีความละเอียดสูง สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้หลากหลาย เช่น การเพิ่มความไวของชัตเตอร์ ตั้งค่าแสง


3) Digital Medium Format Camera เป็นกล้องที่มีคุณภาพและความละเอียดสูงมาก เหมาะกับผู้ที่ทำงานด้านกราฟิกความละเอียดสูง เช่น นิตยสาร โฆษณา งานถ่ายแบบ


4) Digital Single Lens Reflex Like : DSLR Like กล้องดิจิทัลคอมแพ็กที่ออกแบบมาเหมือนกับกล้อง DSLR แต่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ การใช้งานหลายๆ อย่างคล้ายกับกล้อง  DSLR แต่จะใช้ง่ายและสะดวกกว่า ปัจจุบันนิยมใช้กันแพร่หลาย

10. จอรับโทรทัศน์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง จงอธิบาย
มี 3 ประเภท ได้แก่


1) เครื่องรับโทรทัศน์แบบจอ CRT (Cathode Ray Tube Television) เป็นเครื่องรับโทรทัศน์แบบธรรมดาที่ใช้กันมานานแล้ว โดยใช้หลอดภาพ Cathode Ray Tube โดยให้ความคมชัดและอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีหน้าจอไม่เกิน 40 นิ้ว แต่ขนาดเครื่องมีขนาดใหญ่และเปลืองเนื้อที่ในการติดตั้ง ซึ่งปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมแล้ว


2) เครื่องรับโทรทัศน์แบบจอ Plasma (Plasma Television) เป็นเครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้ก๊าซช่วยในการแสดงผล โดยอาศัยการแตกตัวของ Neon Gas ไปกระทบกับเม็ดสีเพื่อให้แสดงผลบนหน้าจอ ซึ่งสามารถแสดงความคมชัดได้ถึง 180 องศา มีสีสันที่ถูกต้องตามธรรมชาติ แต่ใช้ไฟฟ้าสูงและอายุการใช้งานสั้นกว่าแบบ CRT


3) เครื่องรับโทรทัศน์แบบจอ LCD (Liquid Crystal Display) เป็นเครื่องรับโทรทัศน์ที่ใช้ผนึกเหลวจากความร้อนที่ได้จากขดลวดมาเปลี่ยนเป็นผนึกเหลวแสดงสีต่างๆ ซึงจะให้สีสันที่สวยงาม มีอายุการใช้งานที่ยาวนานและไฟน้อย ตอบสนองของภาพช้ากว่าจอโทรทัศน์แบบของ Plasma