วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายบทที่5

1. ให้หาตัวอย่างสื่อการสอนประเภทสองมิติมาคนละ 2 สื่อการสอน พร้อมวิจารณ์ถึงองค์ประกอบพื้นฐานในการผลิตตามหลักการที่ศึกษามา
1) สื่อโปสเตอร์


องค์ประกอบพื้นฐาน
1.1  จุด เป็นองค์ประกอบที่ช่วยบอกและกำหนดตำแหน่งในภาพ ทั้งยังช่วยกระตุ้นความสนใจแก่จักษุสัมผัสได้เป็นอย่างดี
1.2 เส้น ประกอบด้วย เส้นนอน เส้นคดโค้ง เส้นเฉียง เส้นโค้งก้นหอย เส้นที่มีความเล็กและบาง
1.3 ตัวอักษร ประกอบด้วย ตัวอักษรไทยแบบไม่มีหัว ตัวอักษรไทยแบบประดิษฐ์ และตัวอักษรโรมันแบบกราฟิก
1.4 สี เน้นใช้สีดำกับสีขาวเป็นส่วนใหญ่
1.5 การจัดองค์ประกอบ มีการจัดองค์ประกอบแบบสร้างจุดเด่นและเน้นจุดสำคัญของภาพ โดยเน้นจุดสำคัญด้วยสีที่ตรงข้ามกัน คือ สีขาวและสีดำ

2) ภาพการ์ตูน

องค์ประกอบพื้นฐาน
2.1  จุด เป็นองค์ประกอบที่ช่วยบอกและกำหนดตำแหน่งในภาพ ทั้งยังช่วยกระตุ้นความสนใจแก่จักษุสัมผัสได้เป็นอย่างดี
2.2 เส้น ประกอบด้วย เส้นคดโค้ง เส้นเฉียง เส้นซิกแซกหรือเส้นที่เป็นคลื่น เส้นที่มีความเล็กและบาง เส้นหนา
2.3 สี ประกอบด้วยสีขาวที่นำมาตัดกับสีดำ และสีชมพู
2.4 การจัดองค์ประกอบ ใช้การสร้างจุดเด่นของภาพด้วยสีชมพูซึ่งช่วยดึงดูดความสนใจแก่จักษุสัมผัส

3. ให้ทำวงล้อสี และแยกสีตามวรรณะร้อนและวรรณะเย็น


กิจกรรมท้ายบทที่4

1. จงเขียนแผนภูมิประเภทของสื่อการสอนที่แบ่งตามประสบการณ์แห่งการเรียนรู้มีอะไรบ้าง



2. จงอธิบายถึงคุณค่าของสื่อการสอนที่มีต่อการแก้ไขปัญหาทางการศึกษา
            1) สื่อการสอนช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนครูผู้สอน เช่น สื่อวิทยุกระจายเสียง สื่อโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียม เป็นต้น
            2) สื่อการสอนช่วยแก้ปัญหาผู้เรียนที่เรียนช้า สามารถเรียนรู้ได้เร็วขึ้นและมากขึ้น ส่วนผู้เรียนที่มีความฉลาดสามารถเรียนรู้ได้เพิ่มขึ้นตามไปอีก
            3) สื่อการสอนช่วยแก้ปัญหาเรื่องเวลา สถานที่และระยะทาง เช่น สามารถเรียนรู้ได้โดยนำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้ หรือสามารถนำเรื่องราวในอดีตมาถ่ายทอดให้เกิดการเรียนรู้ได้ เป็นต้น

3. จงอธิบายถึงองค์ประกอบที่สำคัญในการเลือกสื่อการสอน
1) ผู้ส่งสาร ได้แก่ มนุษย์ สัตว์
2) สาร มี 3 ประเภท ได้แก่
2.1 สารที่ส่งผลให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ความจำและความคิดเห็น
            2.2 สารที่ให้ความรู้สึกอารมณ์ ความสนใจ ทัศนคติ และค่านิยม
            2.3 สารที่ส่งผลให้เกิดทักษะและประสบการณ์ต่างๆ
3) สื่อหรือช่องทางเป็นตัวกลางหรือพาหะในการนำสาระไปยังผู้รับสาร
4) ผู้รับสาร คือ บุคคลเป้าหมายของการเรียนรู้
5) ผล คือ การรับสารนั้นบรรลุตามเป้าหมายหรือไม่
6) ปฏิกิริยาตอบกลับ คือ การแสดงพฤติกรรมของผู้รับสารถึงส่งที่ผู้ส่งสารได้สื่อความหมายผ่านช่องทาง

4. สื่อการสอนที่แบ่งตามทรัพยากรการเรียนรู้มีอะไรบ้าง
1) คน (People)
2) วัสดุ (Materials)
3) สภาพแวดล้อมทางกายภาพ (Settings)
4) เครื่องมือและอุปกรณ์ (Tools and Equipment)
5) กิจกรรม (Activities)

5. จงอธิบายขั้นตอนในการใช้สื่อการสอนมาพอเข้าใจ
1) ขั้นนำสู่บทเรียน เป็นขั้นตอนที่สื่อการสอนจะสามารถช่วยกระตุ้นให้ผ้เรียนเกิดความสนใจและเร้าความสนใจในเนื้อหาที่กำลังจะเรียน
2) ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน ต้องเป็นสื่อการสอนที่มีการนำเสนอเนื้อหาอย่างละเอียด และควรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในสื่อการสอนนั้นๆ
3) ขั้นสรุปบทเรียน สื่อการสอนในขั้นตอนนี้เป็นสื่อที่แปลงเนื้อหาจากภาพรวมเป็นความคิดรวบยอด โดยการเน้นย้ำเนื้อหาให้มีความเข้าใจที่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

กิจกรรมท้ายบทที่3

1. จงให้นิยามความหมายของคำว่า “วิธีระบบ”
        วิธีระบบ (System Approach) หมายถึง ลำดับขั้นตอนที่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง โดยในทุกขั้นตอนสามารถประเมินตรวจสอบได้ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้สามารถดำเนินกิจกรรมนั้นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. องค์ประกอบของวิธีระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
1) ปัจจัยนำเข้า (Input) เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยการวิเคราะห์ สำรวจ เพื่อให้ทราบถึงภาพการณ์พื้นฐานในการกำหนด
2) กระบวนการ (Process) คือ ขั้นตอนในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และสอดคล้องกับข้อมูลเบื้องต้นที่ได้กำหนดไว้ในปัจจัยนำเข้า กระบวนการนี้จึงเป็นการดำเนินงานที่สำคัญ เนื่องจากจะส่งผลให้กิจกรรมการดำเนินงานนั้นสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์และสภาพปัญหาที่ได้ทราบไว้ในขั้นปัจจัยนำเข้า
3) ผลลัพธ์ (Output) คือ ขั้นตอนที่แสดงถึงจุดหมายปลายทางในการดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีการประเมินผลเพื่อทดสอบความสำเร็จในผลิตภัณฑ์ที่ได้ผ่านกระบวนการพัฒนามาเป็นลำดับขั้น ซึ่งผลผลิตนั้นเป็นผลลัพธ์ที่สามารถแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆตามเป้าหมายของสิ่งที่กำหนดไว้
4) กำกับดูแล (Monitor) คือ ขั้นตอนสำหรับการตรวจสอบกำกับเฝ้าติดตามให้การดำเนินงานตามกระบวนการนั้นมีคุณภาพตามแผนที่วางไว้และส่งผลให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีประสิทธิภาพตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
5) ผลสะท้อนกลับ (Feedback) คือภาพสะท้อนกลับ (Reflection) ถึงผลผลิตซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น โดยเป็นขั้นตอนในการวิเคราะห์และพิจารณาไตร่ตรองผลการดำเนินงานว่ามีข้อผิดพลาดประการใด ต้องปรับปรุงสิ่งใดบ้าง เพื่อให้ได้ผลผลิตของการดำเนินงานในครั้งต่อไปเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

3. ให้นิสิตอธิบายความหมายของคำว่าระบบและรูปแบบการเรียนการสอนว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร
            ระบบการเรียนการสอนเป็นกระบวนการวางแผนในการออกแบบการเรียนการสอนโดยใช้วิธีระบบ (System Approach) มาเป็นตัวกำหนดในการดำเนินงาน
            รูปแบบการเรียนการสอนเป็นโครงร่างหลัก ซึ่งเป็นหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและแนวปฏิบัติต่างๆที่กำหนดขึ้นอย่างเป็นระบบ โดยเป็นตัวแทนหรือสัญลักษณ์ที่บ่งบอกและสามารถอธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบได้
ความแตกต่างของระบบการเรียนการสอนและรูปแบบการเรียนการสอนมีดังนี้
1) ระบบการเรียนการสอนจุดเน้นเป็นสำคัญอยู่ตรงที่ขั้นตอนระบบวิธีการที่ชัดเจน แต่รูปแบบการเรียนการสอนจุดเน้นอยู่ที่แนวคิดที่อาศัยหลักการทฤษฎี วิธีสอนและเทคนิคการสอนแบบต่างๆ
2) ระบบการเรียนการสอนนั้นมุมมองในภาพรวมทั้งหมดให้ครบตามกระบวนการและสามารถตรวจสอบได้ แต่รูปแบบการเรียนการสอนนั้นจะมองในรายละเอียดปลีกย่อยเพื่อให้การดำเนินการกิจกรรมการเรียนการสอนตามหลักการทฤษฎีสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์     
3) ระบบการเรียนการสอนมักใช้ในการดำเนินงานของระบบใหญ่ แต่รูปแบบการเรียนการสอนนั้นนิยมใช้ในการดำเนินงานกิจกรรมการเรียนการสอนระบบย่อย

4. จงเลือกระบบการสอน 1 ระบบ และให้วิเคราะห์จัดกลุ่มถึงขั้นตอนของระบบนั้นๆว่าสอดคล้องกับองค์ประกอบของวิธีระบบ (System Approach) ในขั้นตอนใดบ้าง
ระบบการพัฒนาการเรียนการสอนของคอสไมล์เออร์ และริบเปิ้ล (Klausmeier and Ripple,1971 page 11)

จากแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบระบบพัฒนาการเรียนการสอนของ Klausmeier and Ripple สามารถวิเคราะห์ออกมาเป็นตามวิธีระบบได้ดังนี้
1) ปัจจัยนำเข้า (Input) ได้แก่
   1.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของการสอน
   1.2 การเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ได้แก่
      1.2.1 สร้างแรงจูงใจ กำหนดเงื่อนไข เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
      1.2.2 เตรียมสมรรถภาพของผู้เรียน
   1.3 การเตรียมสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ด้าน
      1.3.1 เนื้อหาวิชา
      1.3.2 วัสดุ อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอน
2) กระบวนการ (Process)  ได้แก่
   2.1 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
   2.2 การดำเนินการสอนตามที่กำหนดไว้
   2.3 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้แก่
      2.3.1 การวัดสมรรถภาพทางสติปัญญา และลักษณะอื่นๆของผู้เรียน
      2.3.2 การวัดความพร้อมก่อนเรียน
      2.3.3 การวัดและประเมินผลระดับความก้าวหน้าระหว่างเรียน
      2.3.4 การวัดและประเมินผลหลังเรียน
      2.3.5 การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ทั้งระบบ
3) ผลลัพธ์ (Output) ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นผลสะท้อน (Feedback) สู่ปัจจัยนำเข้า เพื่อพัฒนาระบบการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

5. จงอธิบายประโยชน์ของวิธีระบบต่อเทคโนโลยีการศึกษา
1) ทำให้ทราบถึงสาเหตุของสิ่งต่างๆที่จะนำเทคโนโลยีการศึกษานั้นไปใช้
2) ทำให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงเป้าหมายและเกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อเทคโนโลยีการศึกษานั้นๆ
3) สามารถตรวจสอบประเมินผล เพื่อให้การดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทุกรูปแบบได้อย่างต่อเนื่อง และนำไปสู่เป้าหมายตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
4) ทำให้การดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษานั้นเป็นระเบียบขั้นตอนและทุกขั้นตอนนั้นมีเหตุมีผล สามารถทราบถึงความสำคัญและความเป็นมา พ้อมทั้งจุดมุ่งหมายที่จะดำเนินไปให้การศึกษามีประสิทธิภาพ
5) วิธีระบบช่วยให้เทคโนโลยีการศึกษานั้นมีประสิทธิภาพ มีความรวดเร็วในการดำเนินงานและไม่ซ้ำซ้อนในขั้นตอนต่างๆ

6) วิธีระบบเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากวิธีระบบนั้น ถ้าผ่านการออกแบบระบบไว้อย่างสมบูรณ์แล้วจะช่วยให้มีการศึกษาเพื่อหาผลลัพธ์ ทำให้การเรียนการสอนและเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมท้ายบทที่2

1. จงให้นิยามความหมายของคำว่า “นวัตกรรมการศึกษา”
            นวัตกรรมการศึกษา คือ แนวคิดที่มีการกลั่นกรองมาเพื่อใช้แก้ปัญหาทางการศึกษา หรือเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา รวมทั้งนวัตกรรมการศึกษานั้นเป็นการพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน มีการทดลองใช้โดยมุ่งให้การศึกษานั้นมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเป็นสิ่งที่อยู่ในระหว่างการเผยแพร่ โดยที่ยังไม่มีการนำไปใช้และยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งถ้าได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการศึกษาในปัจจุบัน “นวัตกรรมการศึกษา” นั้นก็จะเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “เทคโนโลยีการศึกษา” ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนว่า “นวัตกรรมการศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีการศึกษา”

2. องค์ประกอบในการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง
            1) ใช้วิธีระบบ (System Approach) ในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมการศึกษานั้นต้องมีขั้นตอนเป็นระบบโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนปัจจัยนำเข้า (Input) ที่นำเข้าไปในกระบวนการขั้นตอนการออกแบบและผลิตนวัตกรรมการศึกษา (Process) และผลลัพธ์คือนวัตกรรมการศึกษาที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมา (Product) โดยมุ่งเป้าหมายต่อการศึกษาเป็นหลัก
            2) พิจารณาถึงผลผลิต (Output) ที่เป็นผลลัพธ์ (Outcome) ของนวัตกรรมการศึกษานั้นๆว่าเป็นผลิตภัณฑ์หรือวิธีการ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ ไม่ซ้ำกับบุคคลใด หรืออาจมีใหม่ในบางส่วนโดยปรับปรุงจากของเดิมให้ดียิ่งขึ้น หรือเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีการนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ
            3) ใช้การวิจัยในการตรวจสอบพิสูจน์ ประเมินผลในการดำเนินการพัฒนาตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขจนได้ประสิทธิภาพในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research ad Development) ซึ่งจะส่งผลให้นวัตกรรมการศึกษานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
            4)นวัตกรรมการศึกษานั้นๆยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หาก “สิ่งใหม่” นั้นได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา แต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีการศึกษา

3. ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างขอบข่ายละ 2 ตัวอย่างพร้อมแหล่งอ้างอิง
 1) นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่เพื่อให้ได้แนวคิดหลักการหลักสูตรต่างๆขึ้นมา เพื่อนำมาใช้ในการบูรณาการส่วนประกอบต่างๆของศาสตร์สาระเนื้อหาวิชานั้นๆเข้าด้วยกัน มุ่งพัฒนาให้สร้างหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งเน้นด้านต่างๆ
2) นวัตกรรมด้านวิธีการการจัดการเรียนการสอน หมายถึง แนวทางในการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยการนำวิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และการสอนแบบโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในลักษณะต่างๆ
3) นวัตกรรมสื่อการสอน หมายถึง การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ล้ำสมัยมาเป็นช่องทางพัฒนาสื่อการสอน เพื่อถ่ายทอดเนื้อหา ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเท่าทันกันการเปลี่ยนแปลง
4) นวัตกรรมการวัดและประเมินผล หมายถึง การคิดค้นด้วยวิธีการวิจัยเพื่อหาคำตอบหรือความต้องการในการสร้างแนวทางเพื่อพัฒนาวิธีการใช้เครื่องมือในการเสริมประสิทธิภาพต่อการวัดและประเมินผลทางการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
5) นวัตกรรมการบริหารจัดการ หมายถึง เป็นการใช้แนวคิดวิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทั้งกับผู้เรียนและการจัดการศึกษาทุกๆมิติที่สามารถสนับสนุนและส่งเสริมให้คุณภาพการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
6) นวัตกรรมการฝึกอบรม หมายถึง หลักการหรือแนวคิดวิธีต่างๆ หรือการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆขึ้นมาเพื่อช่วยในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะ ความสามารถ รวมทั้งแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้กับกลุ่มคนโดยมีเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมนั้นๆอย่างเป็นขั้นตอนตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ตัวอย่าง
1) การพัฒนาระบบวิธีการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเน้นลักษณะบทเรียนชนิดเสนอเนื้อหาและปฏิสัมพันธ์

จุมพฏ   ธีระจินดาชล.(2542).การพัฒนาระบบวิธีการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเน้น
       ลักษณะบท เรียนชนิดเสนอเนื้อหาและปฏิสัมพันธ์.ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ 
       (มหาวิทยาลัยบูรพา).

2) การพัฒนาระบบการผลิตชุดการสอนแบบมีส่วนร่วม

ณัชชา   ทรงภักศิลปดี.(2551).การพัฒนาระบบการผลิตชุดการสอนแบบมีส่วนร่วม.ฐานข้อมูล
       วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (มหาวิทยาลัยบูรพา).

4. กระบวนการเผยแพร่และยอมรับนวัตกรรมการศึกษามีกี่ขั้น อะไรบ้าง
            กระบวนการเผยแพร่และยอมรับนวัตกรรมการศึกษามี 7 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 วางแผนสู่เป้าหมาย
ขั้นที่ 2 จุดประกายความคิด
ขั้นที่ 3 สร้างมวลมิตรประชาสัมพันธ์
ขั้นที่ 4 เผยแพร่แบ่งปันความรู้
ขั้นที่ 5 บูรณาการไตร่ตรอง
ขั้นที่ 6 ฝึกหัดทดลองทำ
ขั้นที่ 7 ยอมรับนำไปใช้จริง

5. คุณค่าของนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง
คุณค่าของนวัตกรรมการศึกษา มี 6 ตัวบ่งชี้ คือ
   1) การแก้ไขและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
         2)  ช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
         3)  ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกัน
         4)  การใช้ทรัพยากรในการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
         5)  การยอมรับนวัตกรรมการศึกษาเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
         6)  การนำไปใช้

6. “นิสิตระดับปริญญาตรีสาขาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการขอใบประกอบวิชาชีพครู จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้นิสิตมีความรู้นำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู เป็นระยะเวลา 3 วัน โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตผสมผสานกับเทคนิคการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน” จากข้อความดังกล่าว ท่านคิดว่าสอดคล้องกับนวัตกรรมการศึกษาขอบข่ายใด
            จากข้อความดังกล่าว คิดว่าสอดคล้องกับนวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเทคนิคการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เป็นวิธีการสอนที่จำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาจัดการและสนับสนุนนวัตกรรมการเรียนการสอน


วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายบทที่1

1.จงให้นิยามความหมายของคำว่า"เทคโนโลยีการศึกษา"
          เทคโนโลยีการศึกษา  ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Educational  Technology  เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการบูรณาการประยุกต์หลักการทฤษฎีและผลผลิตทางวิทยาศาสตร์  พฤติกรรมการศาสตร์  การสื่อสาร  ศิลปะ  ตลอดจนวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้เป็นแนวคิด  วิธีการ  วัสดุ  อุปกรณ์  แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้  และอื่นๆเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการศึกษา  ก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการเรียนรู้  และประสิทธิผลทางการศึกษา 

2.ให้นิสิตลำดับแนวความคิดของเทคโนโลยีการศึกษามาพอเข้าใจ
            4 หลักแนวคิดของเทคโนโลยีการศึกษา ได้แก่
1) เน้นสื่อ (วัสดุ+อุปกรณ์) เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางด้านวิทยาศาสตร์+วิศวกรรมศาสตร์ แนวความคิดนี้เชื่อว่า กระบวนการเรียนรู้เกิดจากการฟังฟังด้วยหูและชมด้วยตา ซึ่งก่อให้เกิดคำว่า โสตทัศนศึกษา
2) เน้นวิธีการโดยนำวิธีระบบมาจัดการ (วัสดุ+อุปกรณ์+วิธีการ) เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางด้านวิทยาศาสตร์+วิศวกรรมศาสตร์+การจัดการ+พฤติกรรมศาสตร์ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเรียนรู้
3) เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางด้านทฤษฎี+จิตวิทยาการเรียนรู้ เป็นจุดเน้นในการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อการเรียนการสอนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านต่างๆ
4) เน้นการเรียนรู้ร่วมกัน การปฏิสัมพันธ์ แบ่งปันความรู้ผ่านเครือข่ายสังคมการเรียนรู้ เป็นแนวคิดที่ประยุกต์หลักการทางด้านเทคโนโลยีดิจิทัล+เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร+การเรียนรู้ตลอดชีวิต
            แนวคิดเทคโนโลยีการศึกษาเป็นแนวคิดที่บุคคลโดยทั่วไปนั้นได้มีทัศนะของสื่อโสตทัศน์ เน้นวัสดุและอุปกรณ์ที่เป็นผลผลิตทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพราะจุดเริ่มต้นคือสื่อที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ในลักษณะสื่อสิ่งของ แต่ภายหลังแนวความคิดทางพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science) ได้นำมาประยุกต์ใช้ ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ และเพิ่มประสิทธิภาพการศึกษาด้วยวิธีระบบซึ่งเป็นแนวความคิดที่มุ่งเน้นกระบวนการ (Process)

3. เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไรบ้าง จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
            เทคโนโลยีการศึกษาส่งเสริมให้การเรียนการสอนและการจัดการศึกษามีความหลากหลาย ช่วยให้ผู้เรียนเปิดมุมมองใหม่ในการรับรู้ โดยรับรู้ได้ง่ายและกว้างขวางมากขึ้น ช่วยส่งเสริมให้การเรียนการสอนและการจัดการศึกษามีคุณค่าต่อผู้เรียนเพิ่มมากขึ้น ช่วยให้สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ สามารถทำให้เกิดความเท่าเทียมกันของการจัดการศึกษา ทั้งยังสามารถทำให้ลดช่องว่างทางการเรียนรู้ ให้ได้เห็นสภาพความเป็นจริงที่ไม่เฉพาะในห้องเรียนเพียงอย่างเดียวโดยศึกษาผ่านสื่อโสตทัศน์ ซึ่งเป็นการลดช่องว่างในเรื่องระยะทาง เวลา และสถานที่ เช่น การชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับระบบสุริยจักรวาล ทำให้ไม่ต้องเดินทางไปเยี่ยมชมถึงระบบสุริยจักรวาลผู้เรียนก็สามารถเลือกชมได้

4.จงอธิบายเป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีการศึกษาเป็นแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ทุกรูปแบบที่สามารถเอื้ออำนวยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเข้าถึงเนื้อหาการเรียนรู้ได้ง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน และช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ให้กับความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคน สามารถนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและใช้ในการแก้ปัญหาให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้และวัยของผู้เรียน รวมทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งผลให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จ และยังมีความสำคัญในด้านการขยายโอกาสทางการศึกษาในรูปแบบของเครือข่ายประสานการเรียนรู้ มีการรวบรวมความรู้ต่างๆเพื่อให้บุคคลและประชาชนได้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเสริมประสิทธิภาพในการถ่ายทอดความรู้ให้มีมาตรฐานเดียวกัน เช่น ในโรงเรียนชนบทที่ยังด้อยการพัฒนา ครูผู้สอนก็สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อในการสอน โดยใช้ระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้กับเด็กนักเรียน

5.ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษาของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา สหรัฐอเมริกามีอะไรบ้าง
1) การออกแบบ (Design)
2) การพัฒนา (Development)
3) การใช้ (Utilization)
4) การจัดการ (Management)
5) การประเมิน (Evaluation)

6.จงเขียนผังความคิดพัฒนาการของเทคโนโลยีการศึกษา    


7.จงอธิบายขอบข่ายตามภารกิจทางเทคโนโลยีการศึกษามาพอเข้าใจ พร้อมยกตัวอย่าง
            เป็นการนำเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาไปใช้เพื่อภารกิจทางการศึกษา คือ 1) ภารกิจด้านการบริหาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารการศึกษาทั้งในด้านการจัดสภาพแวดล้อมการบริหาร การจัดการ การประเมินผล การสื่อสาร และแนวทางในการบริหารการศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลและมีประสิทธิภาพ 2) ภารกิจด้านวิชาการ ช่วยเสริมศักยภาพในการจัดการเรียนกาสอน การจัดระบบทางการเรียนการสอน เป็นเครื่องมือในการช่วยถ่ายทอดเนื้อหา การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และการประเมินผลด้านการเรียนการสอน 3) ภารกิจด้านการบริการ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริการทางการศึกษาทั้งในด้านการจัดสภาพแวดล้อมการบริการ การจัดการ การประเมินผล การสื่อสาร และแนวทางในการให้บริการทางการศึกษาให้สัมฤทธิ์ผลและมีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรม 1

การพัฒนาระบบวิธีการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเน้นลักษณะบทเรียนชนิดเสนอเนื้อหาและปฏิสัมพันธ์



ประเภท วิธีการจัดการเรียนการสอน

ผู้พัฒนา  จุมพฏ   ธีระจินดาชล

เมื่อใด  พฤษภาคม 2543

ที่มา


วัตถุประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรม


ขั้นตอนการพัฒนา


ลักษณะของนวัตกรรม
               
                   - แนวคิด

ผลการนำไปทดลองใช้


ความคิดเห็นของผู้รายงาน
         -เป็นรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนที่ดี ทำให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับหลายๆด้าน

ข้อดีเด่น
       -ทำให้ได้แนวทางในการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอน
       -ได้รูปแบบของวิธีการเรียนการสอน และระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ข้อเสนอแนะจากผู้รายงาน
       -ควรมีการพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยเน้นลักษณะบทเรียนในแบบอื่นๆ



นวัตกรรม 2

การพัฒนาระบบการผลิตชุดการสอนแบบมีส่วนร่วม


ประเภท สื่อการสอน

ผู้พัฒนา ณัชชา   ทรงภักศิลปดี

เมื่อใด  พฤศจิกายน 2551

ที่มา


วัตถุประสงค์ในการพัฒนานวัตกรรม


ขั้นตอนการพัฒนา



ลักษณะของนวัตกรรม
               
                   - ผลิตภัณฑ์หรือสิ่งประดิษฐ์

ผลการนำไปทดลองใช้


ความคิดเห็นของผู้รายงาน
         -เป็นระบบการผลิตชุดการสอนที่ดี ช่วยส่งเสริมทั้งครูและผู้เรียน

ข้อดีเด่น
  -ได้ระบบการผลิตชุดการสอนแบบมีส่วนร่วมที่จะทำให้เกิดความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างครูในโรงเรียนและผู้เรียน
       -สามารถนำระบบการผลิตชุดการสอนนี้ไปใช้อย่างมีคุณภาพได้จริง

ข้อเสนอแนะจากผู้รายงาน
       -ควรจำกัดงบประมาณ เพราะงบประมาณค่าใช้จ่ายในการผลิตชุดการสอนบางชุดต้องใช้งบประมาณในการผลิตค่อนข้างสูง