วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายบทที่2

1. จงให้นิยามความหมายของคำว่า “นวัตกรรมการศึกษา”
            นวัตกรรมการศึกษา คือ แนวคิดที่มีการกลั่นกรองมาเพื่อใช้แก้ปัญหาทางการศึกษา หรือเพิ่มประสิทธิภาพทางการศึกษา รวมทั้งนวัตกรรมการศึกษานั้นเป็นการพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ขึ้นมาใหม่ หรือปรับปรุงจากสิ่งที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน มีการทดลองใช้โดยมุ่งให้การศึกษานั้นมีประสิทธิภาพตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเป็นสิ่งที่อยู่ในระหว่างการเผยแพร่ โดยที่ยังไม่มีการนำไปใช้และยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการศึกษาที่กำลังดำเนินการอยู่ ซึ่งถ้าได้รับการยอมรับให้เป็นส่วนหนึ่งของรูปแบบการศึกษาในปัจจุบัน “นวัตกรรมการศึกษา” นั้นก็จะเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น “เทคโนโลยีการศึกษา” ดังนั้นจึงเปรียบเสมือนว่า “นวัตกรรมการศึกษาเป็นจุดเริ่มต้นของเทคโนโลยีการศึกษา”

2. องค์ประกอบในการพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง
            1) ใช้วิธีระบบ (System Approach) ในการสร้างสรรค์ นวัตกรรมการศึกษานั้นต้องมีขั้นตอนเป็นระบบโดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนปัจจัยนำเข้า (Input) ที่นำเข้าไปในกระบวนการขั้นตอนการออกแบบและผลิตนวัตกรรมการศึกษา (Process) และผลลัพธ์คือนวัตกรรมการศึกษาที่ได้สร้างสรรค์ขึ้นมา (Product) โดยมุ่งเป้าหมายต่อการศึกษาเป็นหลัก
            2) พิจารณาถึงผลผลิต (Output) ที่เป็นผลลัพธ์ (Outcome) ของนวัตกรรมการศึกษานั้นๆว่าเป็นผลิตภัณฑ์หรือวิธีการ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ ไม่ซ้ำกับบุคคลใด หรืออาจมีใหม่ในบางส่วนโดยปรับปรุงจากของเดิมให้ดียิ่งขึ้น หรือเป็นสิ่งใหม่ที่ยังไม่เคยมีการนำไปใช้ในสภาพแวดล้อมนั้นๆ
            3) ใช้การวิจัยในการตรวจสอบพิสูจน์ ประเมินผลในการดำเนินการพัฒนาตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขจนได้ประสิทธิภาพในลักษณะการวิจัยและพัฒนา (Research ad Development) ซึ่งจะส่งผลให้นวัตกรรมการศึกษานั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเมื่อนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
            4)นวัตกรรมการศึกษานั้นๆยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หาก “สิ่งใหม่” นั้นได้รับการเผยแพร่และยอมรับจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้นไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรมการศึกษา แต่จะเปลี่ยนสภาพเป็นเทคโนโลยีการศึกษา

3. ขอบข่ายของนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง พร้อมยกตัวอย่างขอบข่ายละ 2 ตัวอย่างพร้อมแหล่งอ้างอิง
 1) นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร หมายถึง การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหรือการคิดค้นขึ้นมาใหม่เพื่อให้ได้แนวคิดหลักการหลักสูตรต่างๆขึ้นมา เพื่อนำมาใช้ในการบูรณาการส่วนประกอบต่างๆของศาสตร์สาระเนื้อหาวิชานั้นๆเข้าด้วยกัน มุ่งพัฒนาให้สร้างหลักสูตรการศึกษาที่มุ่งเน้นด้านต่างๆ
2) นวัตกรรมด้านวิธีการการจัดการเรียนการสอน หมายถึง แนวทางในการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนไปยังผู้เรียน โดยการนำวิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆที่สามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล และการสอนแบบโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในลักษณะต่างๆ
3) นวัตกรรมสื่อการสอน หมายถึง การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ที่ล้ำสมัยมาเป็นช่องทางพัฒนาสื่อการสอน เพื่อถ่ายทอดเนื้อหา ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเท่าทันกันการเปลี่ยนแปลง
4) นวัตกรรมการวัดและประเมินผล หมายถึง การคิดค้นด้วยวิธีการวิจัยเพื่อหาคำตอบหรือความต้องการในการสร้างแนวทางเพื่อพัฒนาวิธีการใช้เครื่องมือในการเสริมประสิทธิภาพต่อการวัดและประเมินผลทางการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
5) นวัตกรรมการบริหารจัดการ หมายถึง เป็นการใช้แนวคิดวิธีการหรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่มาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทั้งกับผู้เรียนและการจัดการศึกษาทุกๆมิติที่สามารถสนับสนุนและส่งเสริมให้คุณภาพการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น
6) นวัตกรรมการฝึกอบรม หมายถึง หลักการหรือแนวคิดวิธีต่างๆ หรือการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆขึ้นมาเพื่อช่วยในการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะ ความสามารถ รวมทั้งแนวคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้กับกลุ่มคนโดยมีเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมนั้นๆอย่างเป็นขั้นตอนตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
ตัวอย่าง
1) การพัฒนาระบบวิธีการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเน้นลักษณะบทเรียนชนิดเสนอเนื้อหาและปฏิสัมพันธ์

จุมพฏ   ธีระจินดาชล.(2542).การพัฒนาระบบวิธีการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเน้น
       ลักษณะบท เรียนชนิดเสนอเนื้อหาและปฏิสัมพันธ์.ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ 
       (มหาวิทยาลัยบูรพา).

2) การพัฒนาระบบการผลิตชุดการสอนแบบมีส่วนร่วม

ณัชชา   ทรงภักศิลปดี.(2551).การพัฒนาระบบการผลิตชุดการสอนแบบมีส่วนร่วม.ฐานข้อมูล
       วิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์ (มหาวิทยาลัยบูรพา).

4. กระบวนการเผยแพร่และยอมรับนวัตกรรมการศึกษามีกี่ขั้น อะไรบ้าง
            กระบวนการเผยแพร่และยอมรับนวัตกรรมการศึกษามี 7 ขั้น ได้แก่
ขั้นที่ 1 วางแผนสู่เป้าหมาย
ขั้นที่ 2 จุดประกายความคิด
ขั้นที่ 3 สร้างมวลมิตรประชาสัมพันธ์
ขั้นที่ 4 เผยแพร่แบ่งปันความรู้
ขั้นที่ 5 บูรณาการไตร่ตรอง
ขั้นที่ 6 ฝึกหัดทดลองทำ
ขั้นที่ 7 ยอมรับนำไปใช้จริง

5. คุณค่าของนวัตกรรมการศึกษามีอะไรบ้าง
คุณค่าของนวัตกรรมการศึกษา มี 6 ตัวบ่งชี้ คือ
   1) การแก้ไขและพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
         2)  ช่วยสร้างแรงกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย
         3)  ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเรียนรู้ร่วมกัน
         4)  การใช้ทรัพยากรในการพัฒนานวัตกรรมการศึกษา
         5)  การยอมรับนวัตกรรมการศึกษาเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
         6)  การนำไปใช้

6. “นิสิตระดับปริญญาตรีสาขาการสอนการงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการขอใบประกอบวิชาชีพครู จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เพื่อให้นิสิตมีความรู้นำไปใช้ในการประกอบวิชาชีพครู เป็นระยะเวลา 3 วัน โดยใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตผสมผสานกับเทคนิคการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน” จากข้อความดังกล่าว ท่านคิดว่าสอดคล้องกับนวัตกรรมการศึกษาขอบข่ายใด
            จากข้อความดังกล่าว คิดว่าสอดคล้องกับนวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากเทคนิคการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน เป็นวิธีการสอนที่จำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาจัดการและสนับสนุนนวัตกรรมการเรียนการสอน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น