วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ศึกษาดูงาน ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล


1. ให้นิสิตเขียนสื่อตามประสบการณ์การเรียนรู้ของเอดการ์เดล ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล ว่ามีสื่ออะไรบ้าง และแต่ละสื่อมีสาระนำเสนออะไร (อธิบายพอสังเขป) 
1) ประสบการณ์ตรง ได้เห็นของจริง ได้เห็นด้วยตา ได้ฟังด้วยหูจากการบรรยายของวิทยากร
2) ประสบการณ์รอง ได้เรียนรู้จากพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ซึ่งจำลองสิ่งที่อยู่ภายใต้ทะเล
3) การสาธิต จากการชมการให้อาหารปลาใต้น้ำ
4) การศึกษานอกสถานที่ จากการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยเดินทางมาเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ
5) นิทรรศการ มีการจัดป้ายนิเทศให้ข้อมูลและความรู้ต่างๆภายในพิพิธภัณฑ์
6) การบันทึกเสียง วิทยุ ภาพนิ่ง จากการดูภาพของสัตว์น้ำประกอบการฟังบรรยายจากวิทยากร
7) ทัศนสัญลักษณ์ มีสื่อต่างๆที่แสดงเกี่ยวกับข้อมูลนั้นๆ เช่น แผนภูมิ แผนที่ แผนสถิติ
8) วจนสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นขั้นนามธรรมมากที่สุด ได้แก่ ตัวหนังสือที่บอกข้อมูล ความรู้ และเสียงพูดบรรยายจากวิทยากร

2. ให้นิสิตอธิบายหลักและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่นำมาใช้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของบรูนเนอร์ (Bruner) “Discovery Approach”   หรือการเรียนรู้โดยการค้นพบ โดยบรูนเนอร์เชื่อว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งนำไปสู่การค้นพบการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะประมวลข้อมูลข่าวสาร จากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และจะรับรู้สิ่งที่ตนเองเลือก หรือสิ่งที่ใส่ใจ การเรียนรู้แบบนี้จะช่วยให้เกิดการค้นพบ และจากการได้เรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำก็ทำให้เกิดเรียนรู้ด้วยตนเอง มีการซักถาม สอบถามเมื่อมีความอยากรู้อยากเห็นในสิ่งที่เลือกหรือสนใจ ซึ่งทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ให้เขียนผังความคิดความรู้ที่ได้จากการทัศนศึกษา ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล



4. ให้นิสิตอธิบายประเภทของวัสดุกราฟิกที่ใช้ในงานสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล พร้อมยกตัวอย่าง
v สื่อกราฟิก  มิติ  ได้แก่  สื่อสิ่งพิมพ์  ภาพโปสเตอร์  แผนภาพต่าง ๆ  เป็นต้น
v สื่อกราฟิก  มิติ  ได้แก่ หุ่นจำลองปลาโลโม  โมเดลกระดูกวาฬ  ตู้ปลาต่างๆ  เป็นต้น
v สื่ออิเล็กทรอนิกส์  ได้แก่  ป้ายนิเทศ  และป้ายโฆษณาต่าง ๆ

5. ให้นิสิตบันทึกภาพของตนเองในขณะเยี่ยมชมสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล และ Print เพื่อปะติดลงกระดาษ พร้อมบันทึกลงบน Weblog



6. ให้นิสิตเขียนบันทึกเรื่องราวพร้อมรูปภาพของตนสาระที่ได้เรียนรู้ในวันนี้ลงใน Weblog 


            จากการได้ไปศึกษาเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ทำให้ได้เรียนรู้ในหลายๆสิ่ง ทั้งสิ่งที่ไม่เคยรู้มาก่อนและสิ่งที่เคยรู้แล้วแต่ยังไม่เข้าใจก็สามารถสอบถามจากพี่วิทยากรได้ ซึ่งพี่มาโนชที่เป็นวิทยากรก็ได้ให้ข้อมูลและความรู้อย่างเต็มที่ ได้เรียนรู้นอกห้องเรียน และยังเป็นประสบการณ์ร่วมกับเพื่อนๆและครูที่ดี



7. คำถามที่หาคำตอบได้ในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
7.1 ราชาและราชินีที่เปรียบเสมือนอัญมณีแห่งท้องทะเล คือสัตว์ชนิดใด 
v ราชา  คือ ปลาฉลาม
v ราชินี  คือ ทากทะเล

7.2 น้ำทะเลที่อยู่ในตู้ปลานำมาจากไหน
v มาจาก แสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

7.3 ปลาเศรษฐกิจมีกี่ชนิดอะไรบ้าง
v 2 ชนิด ได้แก่
1)     เพื่อเป็นอาหาร
2)     เพื่อความสวยงาม
เช่น ปลาดอกหมากครีบสั้น ปลาวัวสามเขา ปลาวัวขนละเอียด ปลาวัวขนพัด ปลาค้างคาว ปลาไหลสวนลายจุด ปลาเก๋าลายน้ำเงิน ปลากะรังลายดอก ปลาสร้อยนกเขา เป็นต้น

7.4 บริเวณชั้น 2 ของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลมีการจัดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร และมีสิ่งใดที่เป็นวัสดุกราฟิกบ้าง
มีการจัดแสดงนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง และมีการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์
วัสดุกราฟฟิกที่ใช้  ได้แก่  ภาพโปสเตอร์  ตัวอักษร  ภาพถ่าย

7.5 การนำเสนอเรื่องราวในส่วนของแสดงพันธุ์สัตว์น้ำชั้น 1 มีกี่หัวข้อ ประกอบด้วยอะไรบ้าง และใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาใดบ้าง
ในส่วนของแสดงพันธุ์สัตว์น้ำชั้น 1 มี 7 หัวข้อ ได้แก่
1)  สัตว์ที่อาศัยอยู่ในเขตน้ำขึ้นน้ำลง
2)     ปลาในแนวปะการัง
3)     การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต
4)     สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังน้ำเค็ม
5)     ปลาเศรษฐกิจ
6)     ปลารูปร่างแปลกและปลามีพิษ
7)     ปลาที่อาศัยในมหาสมุทร
สื่อเทคโนโลยีที่นำมาใช้  ได้แก่ ภาพนิ่ง  สื่อสิ่งพิมพ์  หุ่นจำลองต่าง ๆ

7.6 การนำเรื่องราวในส่วนของแสดงพันธุ์สัตว์น้ำชั้น 2 มีกี่หัวข้อ ประกอบด้วยอะไรบ้าง และใช้สื่อเทคโนโลยีการศึกษาใดบ้าง
เรื่องราวในส่วนของแสดงพันธุ์สัตว์น้ำชั้นมี 2 หัวข้อ  ได้แก่
1) การจัดแสดงเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว   เกี่ยวกับพระราชกรณีกิจทางด้านการฟื้นฟู อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และด้านวิทยาศาสตร์การประมง 
2)การจัดนิทรรศการเกี่ยวกับเรื่องราวของทะเล ระบบนิเวศ และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล รวมทั้งความสำคัญของทะเลที่มีต่อมนุษย์ 
สื่อเทคโนโลยีต่างที่ได้มีการนำมาใช้  ได้แก่  ภาพนิ่ง  เช่น  ภาพในหลวงจากป้ายนิทรรศการ  สื่อสิ่งพิมพ์ที่แสดงข้อมูลหรือเรียบเรียงสาระความรู้ต่าง ๆ

7.7   สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็นแหล่งการเรียนรู้ ประเภทใด และสามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระใดได้บ้าง 
สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลเป็น แหล่งเรียนรู้ประเภท อาคาร สถานที่ และสิ่งก่อสร้าง สามารถเชื่อมโยงกับกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ได้  เพราะเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ การเพาะเลี้ยง การดูแล การวิจัยเกี่ยวกับสัตว์น้ำ และระบบนิเวศทางทะเล

7.8  กลุ่มสาระการเรียนรู้ใดสำหรับการศึกษาในระบบโรงเรียนที่เหมาะสมกับการเชื่อมโยงในการใช้แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ รายวิชาชีววิทยา ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับสิ่งมีชีวิต  และระบบนิเวศทางทะเล



วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายบท 9

1. จงอธิบายถึงคุณค่าและการใช้เทคโนโลยี Cloud computing เพื่อการศึกษา
            Cloud computing คือ รูปแบบการประมวลผลที่มีการบูรณาการข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมตั้งแต่โครงสร้างที่เป็นพื้นฐานถึงโปรแกรมประยุกต์ต่างๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ใช้บริการสามารถเลือกตามความสนใจและเสียค่าใช้จ่ายตามค่าบริการนั้นๆ
ข้อดีของเทคโนโลยี Cloud computing
1) ลดความซับซ้อนยุ่งยากของผู้ต้องการใช้บริการ
2) ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย
3) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับข้อมูล
            เทคโนโลยี Cloud computing ทำงานผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtualization) ระบบนั้นจึงไม่ถูกจำกัดในเรื่องของสมรรถนะและขีดความสามารถของการใช้ระบบประมวลผลจากระบบต่างๆ ทำให้เกิดการบริการที่หลากหลายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Cloud computing เพื่อการศึกษา
1) ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน
2) การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน
3) การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ของผู้สอน
4) การประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration)
5) การประยุกต์ใช้ในการให้บริการงานห้องสมุด

2. จงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี Web2.0 และ Web3.0 พร้อมประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
เทคโนโลยี Web2.0
            เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตลักษณะที่มีการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ที่เน้นการปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายในรูปแบบของเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) และผู้ใช้นั้นสามารถมีส่วนร่วมในการแบ่งปันข้อมูล (Sharing) ในรูปแบบของภาพถ่ายดิจิทัล คลิปวิดีโอหรือสื่อมัลติมีเดียในลักษณะต่างๆ รวมทั้งยังสามารถร่วมสร้างสรรค์ข้อมูลสารสนเทศผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือที่หลากหลายที่เสริมทำให้การติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกันได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น บล็อก (Blog) เป็นต้น สำหรับในการสร้างเว็บไซต์นั้นส่วนมากใช้ภาษา CSS (Cascading Style Sheets) โดยจะทำงานร่วมกับ HTML โดยจะกำหนดการแสดงผลของสิ่งต่างๆบนเว็บ เช่น สีอักษร สีพื้นหลัง เป็นต้น
เทคโนโลยี Web3.0
            เทคโนโลยี Web3.0 จะมีการออกแบบและพัฒนาตอบสนองความต้องการของแต่ละคนมากยิ่งขึ้นในรูปแบบ Segment of One คือ Segment ส่วนประกอบต่างๆที่ได้แบ่งความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ต้องการค้นหาของแต่ละบุคคลนั้นจะรวมไว้เป็นหนึ่งเดียว โดยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี
            เทคโนโลยี Web3.0 เป็นการนำหลักการและเทคโนโลยี Web2.0 มาพัฒนา โดยเป็นการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีมากมายมหาศาลให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ซึ่งส่งผลให้เว็บไซต์ในยุคเทคโนโลยี Web3.0 พัฒนาเป็น Semantic Web คือ เว็บไซต์นั้นจะออกแบบเพื่อมีหน้าที่ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำเสนอให้ผู้ใช้บริการตามที่ต้องการเท่านั้น โดยมีการเชื่อมโยงไปยังส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับเว็บไซต์นั้นๆด้วยการนำชื่อหรือข้อความมาอ้างถึงในข้อมูลสารสนเทศ หรือการ Tags ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องค้นหาใหม่ ส่งผลให้เทคโนโลยี Web3.0 เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นฐานข้อมูล และข้อมลสารสนเทศความรู้ที่มีมากมายมหาศาล โดยที่ทุกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจะมีระบบการเชื่อมโยงถึงกันอย่างเป็นหมวดหมู่ เพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นตามความต้องการของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี
            จากการศึกษานั้นทำให้ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี Web2.0 และ Web3.0 อย่างละเอียดมากขึ้น รวมทั้งได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีทั้งสองอย่างนี้ด้วย

3. Youtube คือสื่อสังคมออนไลน์ประเภทใด และมีประโยชน์กับการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
            Youtube อยู่ในกลุ่มเครื่องมือสำหรับแบ่งปันใช้ร่วมกัน (Share Tool)
ประโยชน์ของ YouTube สำหรับโรงเรียน(Youtube for Schools)
1. กว้างขวางครอบคลุม
YouTube สำหรับโรงเรียนเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ เข้าถึงวิดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก YouTube EDU วิดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่นStanfordPBS และ TED รวมทั้งจากพันธมิตรที่กำลังได้รับความนิยมของ YouTube ซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน เช่น Khan Academy, Steve Spangler Science และ Numberphile
2. ปรับแก้ได้
สามารถกำหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาYouTube EDU ทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์ลิสต์วิดีโอที่ดูได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน
3. เหมาะสมสำหรับโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวิดีโอใดๆ ก็ได้ แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และจะดูได้เฉพาะวิดีโอ YouTube EDU และวิดีโอที่โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวิดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการค้นหาจะจำกัดเฉพาะวิดีโอ YouTube EDUเท่านั้น 
4. เป็นมิตรกับครู
YouTube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วิดีโอนับร้อยรายการที่ได้มาตรฐานการศึกษาทั่วไป และจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสต์เหล่านี้สร้างขึ้นโดยครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง

4. ทักษะที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาใหม่ของครู มีอะไรบ้าง
ประกอบด้วย 3 กลุ่มทักษะ ได้แก่
ทักษะกลุ่มที่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดหาและจัดการแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้
ทักษะกลุ่มที่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการผลิตและจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์บนเว็บได้
ทักษะกลุ่มที่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเชื่อมโยงสานสัมพันธ์ และแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศกับเพื่อนร่วมงาน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ปกครอง ท้องถิ่น และขยายไปชุมชน บนเครือข่ายทั่วโลก

5. จงเขียนตารางวิเคราะห์ความเหมือนและความแตกต่างระหว่าง Web-Based Instruction , Mobile Learning , Hybrid Learning และ HyFlex Learning



6. เทคโนโลยี Cloud computing คืออะไร และมีประโยชน์กับการจัดการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
Cloud computing คือ รูปแบบการประมวลผลที่มีการบูรณาการข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมตั้งแต่โครงสร้างที่เป็นพื้นฐานถึงโปรแกรมประยุกต์ต่างๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ใช้บริการสามารถเลือกตามความสนใจและเสียค่าใช้จ่ายตามค่าบริการนั้นๆ
ข้อดีของเทคโนโลยี Cloud computing
1) ลดความซับซ้อนยุ่งยากของผู้ต้องการใช้บริการ
2) ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย
3) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับข้อมูล
            เทคโนโลยี Cloud computing ทำงานผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtualization) ระบบนั้นจึงไม่ถูกจำกัดในเรื่องของสมรรถนะและขีดความสามารถของการใช้ระบบประมวลผลจากระบบต่างๆ ทำให้เกิดการบริการที่หลากหลายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Cloud computing เพื่อการศึกษา
1) ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน
2) การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน
3) การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ของผู้สอน
4) การประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration)

5) การประยุกต์ใช้ในการให้บริการงานห้องสมุด

กิจกรรมท้ายบทที่ 8

1. จงให้นิยามความหมายของคำว่า “เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา”
            เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา หมายถึง การนำวัสดุ อุปกรณ์และการจัดระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล การประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ การนำเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูล การจัดเก็บ การจัดระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกรูปแบบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ผสมผสานด้วยการนำเสนอผ่านช่องทางด้วยเทคโนโลยีสื่อสารที่รวดเร็ว เข้าถึงเป้าหมายได้ชัดเจนด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต เทคโนโลยีการสื่อสารผ่านดาวเทียมเพื่อขยายโอกาสและประสิทธิภาพทางการศึกษา

2. เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาการศึกษาอย่างไร
1) เป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้เรียน
2) ช่วยในการจัดระบบบริหารจัดการศึกษาให้เป็นระบบและรวดเร็วในการดำเนินงาน สามารถติดตามและประเมินผลได้
3) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพผลิตสื่อในการเรียนรู้
4) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
5) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการนำเสนอ
6) ช่วยขยายโอกาสทางการศึกษา
7) ช่วยในการสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3. บทบาทที่สำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในศตวรรษที่ 21 มีอะไรบ้าง
1) บทบาทในการเข้าถึง (Access)
2) บทบาทในการจัดการ (Manage)
3) บทบาทในการบูรณาการ (Integrated)
4) บทบาทในการประเมินผล (Evaluate)
5) บทบาทในการสร้างสรรค์ (Create)

4. จงอธิบายถึงคุณค่าและการใช้เทคโนโลยี Cloud computing เพื่อการศึกษา
            Cloud computing คือ รูปแบบการประมวลผลที่มีการบูรณาการข้อมูลทางเทคโนโลยีสารสนเทศที่ครอบคลุมตั้งแต่โครงสร้างที่เป็นพื้นฐานถึงโปรแกรมประยุกต์ต่างๆบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยที่ผู้ใช้บริการสามารถเลือกตามความสนใจและเสียค่าใช้จ่ายตามค่าบริการนั้นๆ
ข้อดีของเทคโนโลยี Cloud computing
1) ลดความซับซ้อนยุ่งยากของผู้ต้องการใช้บริการ
2) ช่วยประหยัดพลังงานและค่าใช้จ่าย
3) ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการกับข้อมูล
            เทคโนโลยี Cloud computing ทำงานผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtualization) ระบบนั้นจึงไม่ถูกจำกัดในเรื่องของสมรรถนะและขีดความสามารถของการใช้ระบบประมวลผลจากระบบต่างๆ ทำให้เกิดการบริการที่หลากหลายบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Cloud computing เพื่อการศึกษา
1) ประยุกต์ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน
2) การประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเรื่องลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์บทเรียน สื่อการเรียนการสอน
3) การประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์ของผู้สอน
4) การประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration)
5) การประยุกต์ใช้ในการให้บริการงานห้องสมุด

5. จงอธิบายถึงความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยี Web2.0 และ Web3.0 พร้อมประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษา
 เทคโนโลยี Web2.0
            เป็นการใช้งานผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตลักษณะที่มีการติดต่อสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) ที่เน้นการปฏิสัมพันธ์กับเครือข่ายในรูปแบบของเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) และผู้ใช้นั้นสามารถมีส่วนร่วมในการแบ่งปันข้อมูล (Sharing) ในรูปแบบของภาพถ่ายดิจิทัล คลิปวิดีโอหรือสื่อมัลติมีเดียในลักษณะต่างๆ รวมทั้งยังสามารถร่วมสร้างสรรค์ข้อมูลสารสนเทศผ่านสื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้นยังมีเครื่องมือที่หลากหลายที่เสริมทำให้การติดต่อสื่อสาร การทำงานร่วมกันได้รวดเร็วและสะดวกขึ้น เช่น บล็อก (Blog) เป็นต้น สำหรับในการสร้างเว็บไซต์นั้นส่วนมากใช้ภาษา CSS (Cascading Style Sheets) โดยจะทำงานร่วมกับ HTML โดยจะกำหนดการแสดงผลของสิ่งต่างๆบนเว็บ เช่น สีอักษร สีพื้นหลัง เป็นต้น
เทคโนโลยี Web3.0
            เทคโนโลยี Web3.0 จะมีการออกแบบและพัฒนาตอบสนองความต้องการของแต่ละคนมากยิ่งขึ้นในรูปแบบ Segment of One คือ Segment ส่วนประกอบต่างๆที่ได้แบ่งความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆที่ต้องการค้นหาของแต่ละบุคคลนั้นจะรวมไว้เป็นหนึ่งเดียว โดยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี
            เทคโนโลยี Web3.0 เป็นการนำหลักการและเทคโนโลยี Web2.0 มาพัฒนา โดยเป็นการจัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่มีมากมายมหาศาลให้อยู่ในรูปแบบ Metadata ซึ่งส่งผลให้เว็บไซต์ในยุคเทคโนโลยี Web3.0 พัฒนาเป็น Semantic Web คือ เว็บไซต์นั้นจะออกแบบเพื่อมีหน้าที่ในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศเพื่อนำเสนอให้ผู้ใช้บริการตามที่ต้องการเท่านั้น โดยมีการเชื่อมโยงไปยังส่วนประกอบที่เกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับเว็บไซต์นั้นๆด้วยการนำชื่อหรือข้อความมาอ้างถึงในข้อมูลสารสนเทศ หรือการ Tags ตามความเหมาะสม โดยไม่ต้องค้นหาใหม่ ส่งผลให้เทคโนโลยี Web3.0 เป็นเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นฐานข้อมูล และข้อมลสารสนเทศความรู้ที่มีมากมายมหาศาล โดยที่ทุกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจะมีระบบการเชื่อมโยงถึงกันอย่างเป็นหมวดหมู่ เพิ่มประสิทธิภาพการสืบค้นตามความต้องการของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี
            จากการศึกษานั้นทำให้ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี Web2.0 และ Web3.0 อย่างละเอียดมากขึ้น รวมทั้งได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างเทคโนโลยีทั้งสองอย่างนี้ด้วย

6. Youtube คือสื่อสังคมออนไลน์ประเภทใด และมีประโยชน์กับการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
            Youtube อยู่ในกลุ่มเครื่องมือสำหรับแบ่งปันใช้ร่วมกัน (Share Tool) ประเภทเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์
ประโยชน์ของ YouTube สำหรับโรงเรียน(Youtube for Schools)
1. กว้างขวางครอบคลุม
YouTube สำหรับโรงเรียนเปิดโอกาสให้โรงเรียนต่างๆ เข้าถึงวิดีโอเพื่อการศึกษาฟรีนับแสนรายการจาก YouTube EDU วิดีโอเหล่านี้มาจากองค์กรที่มีชื่อเสียงต่างๆ เช่นStanfordPBS และ TED รวมทั้งจากพันธมิตรที่กำลังได้รับความนิยมของ YouTube ซึ่งมียอดผู้ชมนับล้านๆ คน เช่น Khan Academy, Steve Spangler Science และ Numberphile
2. ปรับแก้ได้
สามารถกำหนดค่าเนื้อหาที่ดูได้ในโรงเรียนของคุณ โรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์เข้าถึงเนื้อหาYouTube EDU ทั้งหมด แต่ครูและผู้ดูแลระบบอาจสร้างเพลย์ลิสต์วิดีโอที่ดูได้เฉพาะในเครือข่ายของโรงเรียนเท่านั้นได้เช่นกัน
3. เหมาะสมสำหรับโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียนและครูสามารถลงชื่อเข้าใช้และดูวิดีโอใดๆ ก็ได้ แต่นักเรียนจะไม่สามารถลงชื่อเข้าใช้และจะดูได้เฉพาะวิดีโอ YouTube EDU และวิดีโอที่โรงเรียนได้เพิ่มเข้าไปเท่านั้น ความคิดเห็นและวิดีโอที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะถูกปิดใช้งานและการค้นหาจะจำกัดเฉพาะวิดีโอ YouTube EDUเท่านั้น 
4. เป็นมิตรกับครู
YouTube.com/Teachers มีเพลย์ลิสต์วิดีโอนับร้อยรายการที่ได้มาตรฐานการศึกษาทั่วไป และจัดระเบียบตามหัวเรื่องและระดับชั้น เพลย์ลิสต์เหล่านี้สร้างขึ้นโดยครูเพื่อเพื่อนครูด้วยกัน ดังนั้นคุณจึงมีเวลาในการสอนมากขึ้นและใช้เวลาค้นหาน้อยลง

7. ทักษะที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาใหม่ของครู มีอะไรบ้าง
ประกอบด้วย 3 กลุ่มทักษะ ได้แก่
          ทักษะกลุ่มที่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการจัดหาและจัดการแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ได้
          ทักษะกลุ่มที่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการผลิตและจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์บนเว็บได้
          ทักษะกลุ่มที่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการเชื่อมโยงสานสัมพันธ์ และแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศกับเพื่อนร่วมงาน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ผู้ปกครอง ท้องถิ่น แลละขยายไปชุมชน บนเครือข่ายทั่วโลก

8. สายเคเบิ้ลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) มีประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างไร
          การสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง เป็นระบบการสื่อสารที่ใช้แสงผสมกับข้อมูลที่ต้องการส่งในรูปแบบดิจิตอล   แล้วจึงส่งผ่านตัวกลางคือใยแก้วเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 250 ไมครอน ซึ่งมีขนาดเล็กมากทำให้สายเคเบิล 1 เส้น สามารถรวมเอาสายสัญญาณหลายเส้น แสงจะถูกส่งผ่านไปยังตัวรับคือโฟโตดีเทคเตอร์เพื่อแปลผลค่าสัญญาณจากแสงเป็นสัญญาณไฟฟ้า   และใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์แปผลเป็นข้อมูลอีกครั้งหนึ่ง
         การสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสงมีจุดเด่นคือสามารถส่งสัญญาณหลาย ๆ ช่องไปได้พร้อมๆ กัน โดยใช้เทคนิคการผสมสัญญาณ (multiplexing) ที่นิยมใช้คือการทำ WDM (wavelength  divison multiplexing) เป็นการส่งสัญญาณแต่ละช่องด้วยแสงที่มีความยาวคลื่นต่างกัน   ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้มากกว่ามหาศาลเมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านสายทองแดงแบบเดิม
จุดเด่นของการสื่อสารผ่านใยแก้วนำแสง
1)   ใช้ส่งข้อมูลข้ามทวีป   ผ่านเคเบิลใยแก้วใต้น้ำ   เนื่องจากมีการสูญเสียสัญญาณต่ำกว่าสัญญาณไฟฟ้า ทำให้ใช้ตัวทวนสัญญาณน้อย ส่งสัญญาณได้ระยะทางไกล ความคุ้มค่าสูง
2) ส่งข้อมูลได้มหาศาลในเวลาเดียวกันเมื่อเทียบกับการสื่อสารผ่านสายทองแดง เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารแสงมีความผิดเพี้ยนของสัญญาณต่ำเมื่อทำการรวมกันของข้อมูลหลาย ๆ ช่องสัญญาณ
3) ไม่มีผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า สามารถติดตั้งได้ในบริเวณที่มีไฟฟ้าแรงสูง หรือฟ้าผ่าเกิดขึ้นบ่อยครั้ง
4) ข้อมูลรั่วไหลได้ยาก การลักลอบขโมยสัญญาณจากระบบใยแก้วนำแสงทำได้ยาก

9. วิวัฒนาการของเทคโนโลยีการสื่อสารผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1G-4G มีความแตกต่างกันอย่างไร
            ยุค 1G
1) ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบเซลลูล่าร์
2) การรับส่งสัญญาณใช้วิธีการผสมสัญญาณแอนะล็อกเข้สช่องสื่อสารโดยการใช้การแบ่งความถี่ออกมาเป็นช่องเล็กๆ
            ยุค 2G
1) การเข้ารหัสสัญญาณเสียง โดยบีบอัดสัญญาณเสียงในรูปแบบดิจิทัลให้มีขนาดจำนวนข้อมูลน้อยลง
2) มีการติดต่อจากสถานีลูกหรือตัวโทรทัศน์เคลื่อนที่กับสถานีหลัก ใช้วิธีการ 2 แบบ คือ TDMA (Time Division Multiple Access) และ CDMA (Code Division Multiple Access) ในยุคนี้เป็นการรับส่งสัญญาณโทรศัพท์แบบดิจิทัล
            ยุค 2.5G
1) กำเนิดเทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service)
2) สามารถให้บริการรับส่งข้อมูลแบบแพคเก็ตที่ความเร็วระดับ 20-40 Kbps
            ยุค 2.75G
1) เป็นช่วงที่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยี EDGE (Enhanced Data rates for Global Evolution) นั่นเอง EDGE นั้นถือเป็นเทคโนโลยีต่อยอดของ GPRS และถูกเรียกกันว่าเทคโนโลยียุค 2.75G (อย่างไม่เป็นทางการ) ลักษณะการทำงานของ EDGE นั้นจะเป็นการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพความเร็วจากพื้นฐานของ GPRS ให้มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลได้สูงขึ้น
2) ความเร็วในการส่งถ่ายข้อมูลสูงสุดประมาณ 384 Kbps และมีความเร็วในการใช้งานจริงประมาณ 80-100 Kbps
            ยุค 3G
1) ความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง 384 Kbps
2) ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆรวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้บริการมัลติมีเดียได้อย่างสมบูรณ์แบบ
3) เพิ่มประสิทธิภาพในการรับ-ส่งไฟล์ที่มีขนาดใหญ่
4) การใช้บริการ Video Call Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming
            ยุค 4G
1) สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย
2) มี Bandwidth กว้างกว่า สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็วสูงกว่า 3G
3) ใช้งานได้ทั่วโลก
4) ค่าใช้จ่ายถูกลง
5) คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย
6) ความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข่อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูงมากกว่า 3G ถึง 7 เท่า คือ ความเร็วที่ตั้งแต่ 100 Mbps-1024Mbps (1Gbps)

10. หลักการวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์เครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีอะไรบ้าง
1) ประเมินวัตถุประสงค์ความต้องการในการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้
1.1 ผู้ใช้ต้องวิเคราะห์ความต้องการของตนในการนำข้อมูลสารสนเทศไปใช้
1.2 ผู้ใช้แยกแยะประเด็น และเลือกหัวข้อที่ต้องการสืบค้น
2) พิจารณาด้านคุณภาพเว็บไซต์ที่ใช้การเผยแพร่
2.1 ข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในเว็บไซต์หรือไม่
           2.2 ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวนั้นเป็นสาระเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้าง หรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์หรือไม่
           2.3 เว็บไซต์ดังกล่าวได้ให้ที่อยู่ e-mail addressในการให้ผู้อ่านติดต่อสอบถามหรือไม
2.4 เว็บไซต์ดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์อื่นที่อ้างถึงได้หรือไม่
           2.5 เว็บไซต์ดังกล่าวมีการปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์อย่างต่อเนื่องหรือไม่
2.6 เว็บไซต์ดังกล่าวมีช่องทางให้ผู้อ่านแสดงความคิดเห็น
2.7 เว็บไซต์ดังกล่าวมีข้อความเตือนผู้อ่านให้ใช้วิจารณญาณในการตัดสินใจใช้ข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์
2.8 เว็บไซต์ดังกล่าวควรมีข้อความระบุว่า เป็นเว็บไซต์ส่วนตัวหรือระบุแหล่งที่ให้การสนับสนุนในการสร้างเว็บไซต์
3) พิจารณาด้านเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์ที่นำเสนอ
3.1 ข้อมูลสารสนเทศดังกล่าวมีการบอกแหล่งที่มาของข้อมูลหรือมีการอ้างอิงเนื้อหาที่นำเสนอบนเว็บไซต์หรือไม่
           3.2 เนื้อหามีการระบุวันเวลาในการเผยแพร่ข้อมูลบนเว็บไซต์
           3.3 เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรมและจริยธรรม
           3.4 เนื้อหาข้อมูลสารสนเทศระบุวันเวลาในการปรับปรุงข้อมูลครั้งล่าสุดหรือไม่
           3.5 เนื้อหามีการระบุชื่อผู้เขียนบทความหรือผู้ให้ข้อมูลบนเว็บไซต์หรือไม่
           3.6 คุณภาพของเนื้อหาสาระในการเขียนเนื้อหาข้อมูลสารสนเทศบนเว็บไซต์มีความถูกต้อง
           3.7 เนื้อหาสารสนเทศบนเว็บไซต์ไม่มีความลำเอียงในการนำเสนอ