วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กิจกรรมท้ายบทที่ 7


1. การเรียนรู้หมายถึงอะไร
            การเรียนรู้ คือ ลักษณะของการปรับเปลี่ยนของบุคคลอันมีผลเนื่องมาจากการได้รับสภาพแวดล้อมที่ก่อให้เกิดประสบการณ์ สื่อการเรียนรู้ที่สามารถสร้างประสบการณ์ให้กับผู้เรียนได้ ซึ่งการปรับเปลี่ยนจะส่งผลให้บุคคลนั้นๆได้พบกับสิ่งเร้าที่มากระตุ้นก่อให้เกิดคำว่า “การเรียนรู้” โดยเป็นประสบการณ์ที่บุคคลนั้นๆพบเจอมีทั้งสิ่งที่เป็นทางตรงและทางอ้อม กล่าวคือ ประสบการณ์ตรงที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้นั้นคือสิ่งที่ได้สัมผัสด้วยตนเองและมีปฏิกิริยาต่อสิ่งนั้น และประสบการณ์ทางอ้อมคือประสบการณ์ในลักษณะนามธรรมที่ได้รับจากการฟัง บรรยาย การสั่งสอนหรือการรับรู้จากการชมรายการโทรทัศน์หรือสื่อมวลชนต่างๆ

2. จงอธิบายเป้าประสงค์ของการเรียนรู้และองค์ประกอบของการเรียนรู้
องค์ประกอบสำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ มี 4 ประการ ดังนี้
1) แรงขับ (Drive) เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมของบุคคลที่จะเรียนรู้ทั้งสมอง ระบบประสาทสัมผัสและกล้ามเนื้อ แรงขับเหล่านี้จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่จะชักนำไปสู่การเรียนรู้ต่อไป
2) สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมตอบสนองออกมา
3) การตอบสนอง (Response) เป็นปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า ทั้งส่วนที่สังเกตเห็นได้และส่วนที่ไม่สามารถสังเกตเห็นได้
4) การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นการให้สิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลลบ ซึ่งมีผลต่อการเรียนรู้ของบุคคลเป็นอันมาก
เป้าประสงค์ของการเรียนรู้ ได้แก่
1) ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือ สิ่งที่เป็นผลทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสติปัญญา ซึ่งครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความจำ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์และประเมินผล
2) ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ สิ่งที่ผลของการเรียนรู้ ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความรู้สึก ความสนใจ การตอบสนอง การจัดระบบ ทัศนคติ การประเมินค่าและค่านิยม
3) ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทการเคลื่อนไหวร่างกาย การกระทำ การปฏิบัติงาน การมีทักษะและความชำนาญ

3. ถ้านิสิตต้องการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องใช้หลักและทฤษฎีใดในการออกแบบ จงอธิบาย
            ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพุทธิปัญญา ซึ่งมีแก่นแนวคิดของทฤษฎี ดังนี้
v การเรียนรู้เกิดจากกระบวนการคิดที่เกิดขึ้นระหว่างที่มีสิ่งเร้าและการตอบสนอง เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการแก้ปัญหา โดยการจัดระบบการรับรู้แล้วเชื่อมโยงกับประสบการณ์เดิม
v กระบวนการเกิดขึ้นได้นั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบการเรียนรู้ที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียน ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความคิดเห็น ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน ผู้เรียนนั้นได้เรียนรู้จากประสาทสัมผัสผสมผสานกับสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนมีอิสระทางความคิดในการจัดระบบสารสนเทศทางสมอง
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษา ดังนี้
v เป็นพื้นฐานในการออกแบบสื่อการเรียนการสอนทั้งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและบทเรียนผ่านเว็บในลักษณะสื่อหลายมิติ ที่ให้ผู้เรียนได้เกิดการรู้คิดตามความแตกต่างของแต่ละคน โดยผู้เรียนบางคนอาจประมวลโครงสร้างทางความรู้ได้เร็วเมื่อฝึกปฏิบัติครั้งเดียว แต่บางคนต้องฝึกปฏิบัติซ้ำหรือทบทวนความรู้เดิมได้ก็จะเกิดความจำและความรู้ในระยะยาว
v การสร้างผังความคิดล่วงหน้า (Advanced Organize) โดยมีผังอธิบาย ผังบรรยาย ผังกลั่นกรองสาระ ผังความคิดแบบกราฟิกและผังมโนทัศน์ ซึ่งเป็นสารสนเทศความรู้นำเสนอขั้นนำเข้าสู่บทเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอน
มีลักษณะเด่นในการออกแบบการสอน ดังนี้
v การออกแบบการสอนโดยการนำเสนอภาพรวมให้ผู้เรียนเห็นแล้วเข้าใจก่อนการนำเสนอส่วนย่อย ซึ่งจะช่วยเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดียิ่งขึ้น
v การส่งเสริมให้ผู้เรียนมีประสบการณ์มาก ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลาย จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถคิดแก้ปัญหาและคิดริเริ่มได้

4. สภาพแวดล้อมการเรียนรู้มีอะไรบ้าง จงอธิบาย
สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่
1) สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ เป็นสภาพแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นที่สามารถสัมผัสได้ด้วยตาและกายสัมผัส รวมทั้งสิ่งต่างๆที่อยู่ตามธรรมชาติ สามารถแบ่งออกเป็นสภาพแวดล้อมในสถานที่และสภาพแวดล้อมภายนอกสถานที่
2) สภาพแวดล้อมทางด้านจิตภาพ ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อความรู้สึก จิตใจ เจตคติของผู้เรียน ที่มีผลต่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็นองค์ประกอบสำคัญใหญ่ๆ 2 องค์ประกอบ ได้แก่ องค์ประกอบด้านนักเรียนและองค์ประกอบด้านผู้สอน
3) สภาพแวดล้อมทางด้านสังคม ได้แก่ สภาพแวดล้อมที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล รวมถึงกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆของโรงเรียน

5. ให้นิสิตเขียนผังความคิดทฤษฎีการเรียนรู้กับการประยุกต์ในการเรียนการสอนและเทคโนโลยีการศึกษา



6. ทฤษฎีกลุ่มการสร้างสรรค์ความรู้คอนสตรัคติวิสต์มีกี่ประเภท อะไรบ้าง พร้อมทั้งอธิบายความแตกต่าง
2 ประเภท ได้แก่
1) Individual Cognitive Constructivism
            แนวคิดของทฤษฎีนี้เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการลงมือกระทำ
2) Social Constructivism
            มีแนวคิดที่สำคัญที่ว่า “ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญา” รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับศักยภาพในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญาที่อาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงของการพัฒนาที่เรียกว่า Zone of Proximal Development

7. ทฤษฎีสังคมเชิงพุทธิปัญญา (Social Cognitive Theory) มีบทบาทสำคัญต่อการประยุกต์ใช้ในงานเทคโนโลยีการศึกษาได้อย่างไร จงอธิบาย
v เป็นพื้นฐานในการออกแบบสื่อการเรียนการสอนทั้งบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและบทเรียนผ่านเว็บในลักษณะสื่อหลายมิติ ที่ให้ผู้เรียนได้เกิดการรู้คิดตามความแตกต่างของแต่ละคน โดยผู้เรียนบางคนอาจประมวลโครงสร้างทางความรู้ได้เร็วเมื่อฝึกปฏิบัติครั้งเดียว แต่บางคนต้องฝึกปฏิบัติซ้ำหรือทบทวนความรู้เดิมได้ก็จะเกิดความจำและความรู้ในระยะยาว
v การสร้างผังความคิดล่วงหน้า (Advanced Organize) โดยมีผังอธิบาย ผังบรรยาย ผังกลั่นกรองสาระ ผังความคิดแบบกราฟิกและผังมโนทัศน์ ซึ่งเป็นสารสนเทศความรู้นำเสนอขั้นนำเข้าสู่บทเรียนในกิจกรรมการเรียนการสอน

8. จงเขียนแผนที่ความคิด (Mind Map) หลักทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น